วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

คัมภีร์ของมหายาน

พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร 
พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมิได้ปฏิเสธ พระไตรปิฎกดั้งเดิม หากแต่ถือว่าอาจยังไม่เพียงพอ เนื่องจากเกิดมีแนวคิดว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นโลกุตรสภาวะ ไม่อาจดับสูญ ที่ชาวโลกคิดว่าพระพุทธองค์ดับสูญไปแล้วนั้นเป็นเพียงภาพมายาของรูปขันธ์ แต่พระธรรมกายอันเป็นสภาวธรรมของพระองค์เป็นธาตุพุทธะบริสุทธิ์ยังดำรงอยู่ต่อไป มหายานถือว่ามนุษย์ทุกคนมี พุทธธาตุ เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า หากมีกิเลสอวิชชาบดบังธาตุพุทธะจึงไม่ปรากฏ หากกิเลสอวิชชาเบาบางลงเท่าใดธาตุพุทธะก็จะปรากฏมากขึ้นเท่านั้น มหายานมีแนวคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิและมีความสามารถที่จะบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ และสามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ หากฝึกฝนชำระจิตใจจนบริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยบารมีทั้ง 10 ประการ พระโพธิสัตว์ของฝ่ายมหายานจึงมีมากมาย แม้พระพุทธเจ้าก็มีปริมาณที่ไม่อาจคาดคำนวณได้ และพระโพธิสัตว์ทุกองค์ย่อมโปรดสรรพสัตว์เช่นเดียวกับจริยาของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระโพธิสัตว์จึงมีน้ำหนักเท่ากับพระไตรปิฎก ในพุทธศาสนามหายานจึงมีคัมภีร์สำคัญระดับเดียวกับพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก เพื่อให้เหมาะสมกับจริตและอินทรีย์ของสรรพสัตว์แต่ละจำพวก อีกทั้งเพื่อเป็นกุศโลบายในการสั่งสอนพุทธธรรม ทั้งนี้ก็เพื่อเจตจำนงจะเกื้อกูลสรรพชีวิตทั้งมวลให้ถึงพุทธรรมและบรรลุความหลุดพ้นจากสังสารวัฏ คัมภีร์ของมหายานดั้งเดิมเขียนขึ้นด้วยภาษาสันสกฤต แต่ก็มิใช่สันสกฤตแท้ หากเป็นภาษาสันสกฤตที่ปะปนกับภาษาปรากฤตตลอดจนบาลีและภาษาท้องถิ่นอื่นๆ เรียกว่าภาษาสันสกฤตทางพุทธศาสนา คัมภีร์เหล่านี้กล่าวในฐานะเป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าบ้าง คำสอนพระโพธิสัตว์บ้าง หรือแม้แต่ทวยเทพต่างๆ โดยมีเนื้อหาหลากหลาย สันนิษฐานว่าพระสูตรปรัชญาปารมิตา เป็นพระสูตรมหายานรุ่นเก่าที่สุด และได้มีการเขียนพระสูตรขึ้นต่อมาอีกอย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยคุปตะ พระสูตรบางเรื่องก็เกิดขึ้นในประเทศจีน และในหมู่คณาจารย์ของมหายานเองก็เขียนคัมภีร์ที่แสดงหลักปรัชญาอันลึกซึ้งของตน เรียกว่าศาสตร์ซึ่งเทียบได้กับอภิธรรมของฝ่ายเถรวาท ที่มีชื่อเสียงคือ มาธยมกศาสตร์, โยคาจารภูมิศาสตร์, อภิธรรมโกศศาสตร์, มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ในประเทศต่างๆ ที่นับถือมหายาน ก็มีการรจนาคัมภีร์ขึ้นเพื่อสั่งสอนหลักการของตนเองอีกเป็นอันมาก คัมภีร์ของมหายานจึงมีมากมายเท่าๆกับความหลากหลายและการแตกแยกทางความคิดในหมู่นักปราชญ์ของมหายาน
นิกายมหายานเคารพในพระธรรมซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และเคารพในพระไตรปิฎกเช่นเดียวกับเถรวาท จึงมิได้ปฏิเสธพระไตรปิฎก หากแต่ถือว่ายังไม่พอ เนื่องจากเกิดสำนึกร่วมขึ้นมาว่า นามและรูปของพระพุทธองค์เป็น โลกุตตระ ไม่อาจดับสูญ สิ่งที่ดับสูญไปนั้นเป็นเพียงภาพมายา พระธรรมกาย ซึ่งเป็นธาตุอันบริสุทธิ์ยังคงมีอยู่ต่อไป
มนุษย์ทุกคนมีธาตุพุทธะร่วมกับพระพุทธเจ้า ถ้ามีกิเลสมาบดบังธาตุพุทธะก็ไม่ปรากฏ มนุษย์ทุกคนจึงมีศักยภาพที่จะ เป็นพระโพธิสัตว์ได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า ถ้าได้รับการฝึกฝนชำระจิตใจจนบริสุทธิ์ พระโพธิสัตว์จึงมีจำนวน มหาศาล และมีหน้าที่ส่งเสริมงานของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระโพธิสัตว์จึงมีน้ำหนักเท่ากับพระไตรปิฎก ด้วยสำนึก เช่นนี้ ฝ่ายมหายานจึงมีคัมภีร์เกิดขึ้นมากมาย และให้ความเคารพเทียบเท่าพระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎกมหายาน

แม้นว่ามหายานจะมีทั้งพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม แต่พระวินัยของมหายานนั้น นอกจากจะมี 250 ข้อแล้ว ยังไม่ได้เป็นหมวดหมู่แบบเถรวาท สังฆกรรมต่าง ๆ ของฝ่ายมหายานต้องใช้คัมภีร์วินัยของสรวาสติวาท ธรรมคุปตะ มหาสังฆิกะ และมหิศาสกะ
สิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ 250 ข้อ ของฝ่ายมหายาน มีดังนี้ คือ
1.       ปาราชิก 4
2.       สังฆาทิเสส 13
3.       อนิยต 2
4.       นิสสัคคียปาจิตตีย์ 30
5.       ปาจิตตีย์ 90
6.       ปาฏิเทสนีย์ 4
7.       เสขิยะ 100
8.       อธิกรณสมถะ 7
สิกขาบทของมหายานได้เพิ่มวินัยของพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่กล่าวไว้ในพรหมชาลสูตร เรียก พรหมชาลโพธิสัตวศีล และ ยคโพธิสัตวศีล ซึ่งอยู่ในคัมภีร์โยคาจารภูมิศาสตร์ปกรณ์พิเศษของนิกายวิชญาณวาทิน และมีข้อที่น่าสังเกตอีกอย่างคือ วินัยของโพธิสัตว์นั้นแม้จะต้องครุกาบัติ เป็นปาราชิกในโพธิสัตว์สิกขาบทก็สามารถ สมาทานใหม่ได้ ไม่เหมือนกับภิกขุปาฏิโมกข์ ซึ่งทำคืนอีกไม่ได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าสิกขาบทของภิกขุอยู่ในขอบเขตจำกัด ของปัจจุบันชาติ ส่วนสิกขาบทของโพธิสัตว์นั้นไม่จำกัดชาติ
ดังนั้น กุลบุตรฝ่ายมหายานเมื่ออุปสัมปทากรรมแล้วก็จะต้องรับศีลโพธิสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมพรหมชาล โพธิสัตว์ศีลมากกว่า โยคะโพธิสัตวศีล และศีลพระโพธิสัตว์นี้ได้ห้ามภิกษุฉันเนื้อสัตว์ ของสดคาว และหัวหอม หัวกระเทียม เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วย ส่งเสริมให้เกิดกำหนัดราคะกางกั้นจิตมิให้บรรลุสมาธิ และการกินเนื้อสัตว์นี้อาจกินถูกเนื้อบิดามารดาในชาติก่อน ๆ ของตน ผู้รับศีลโพธิสัตว์จึงต้องถือมังสะวิรัติอย่างเคร่งครัด พระสงฆ์มหายานของจีนได้รับการยอมรับกันว่า ปฏิบัติในข้อนี้ได้เคร่งครัด กว่าพวกมหายานในประเทศอื่น ๆ
ลัทธิมหายานมิได้มีภิกขุปาฏิโมกข์เป็นเอกเทศ คงปฏิบัติวินัยบัญญัติตามพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายสาวกยาน แต่มีแปลกจากฝ่ายสาวกยานคือ โพธิสัตวสิกขา เพราะลัทธิมหายานสอนให้มุ่งพุทธิภูมิ บุคคลจึงต้องประพฤติโพธิจริยา มีศีลโพธิสัตวเป็นที่อาศัย วินัยโพธิสัตวนี้สาธารณทั่วไปแม้แก่ฆราวาสชนด้วย มีโพธิสัตวกุศลศีลสูตร ผูกพุทธ ปิฏกสูตร ผูกพรหมชาลสูตร (ต่างฉบับกับบาลี) ผูกโพธิสัตวศีลมูลสูตร ผูก และอื่นๆ อีก พึงสังเกตว่าเรียกคัมภีร์เหล่านี้ว่าสูตรมิได้จัดเป็นปิฎกหนึ่งต่างหาก อรรถกถาพระสูตรของคันถรจนาจารย์อินเดีย
มหาสุขาวตีวยูหสูตร (無量壽經) 
พระสุตตันตปิฎกมหายาน

ชื่อพระสูตรสำคัญของมหายานที่คนส่วนใหญ่รู้จัก รวบรวมจากหนังสือของคณะสงฆ์จีนนิกายมี ดังนี้
1.       ปรัชญาปารมิตา
2.       อวตังสกะสูตร 《大方廣佛華嚴經》
3.       คัณฑวยุหสูตร
4.       ทศภูมิกสูตร
5.       วิมลเกียรตินิทเทศสูตร《維摩詰經》
6.       ศูรางคมสูตร《大佛頂首楞嚴經》
7.       สัทธรรมปุณฑริกสูตร 《妙法蓮華經》
8.       ศรีมาลาเทวีสูตร
9.       พรหมชาลสูตร
10.   สุขาวดีวยุหสูตร《佛說大乘無量壽莊嚴清浄平等覺經)
11.   ตถาคตครรภสูตร
12.   อสมปูรณอนุสูตร
13.   อุตรสรณสูตร
14.   มหาปรินิรวาณสูตร《大般涅盤經》
15.   สันธินิรโมจนสูตร
16.   ลังกาวตารสูตร《楞伽阿跋多羅寶經》/《楞伽經》
17.   พระสูตร 42 บท หรือ พระพุทธวจนะ 42 บท ชาวมหายานเชื่อว่าเป็นสูตรแรกที่ได้รับการแปลสู่พากย์จีน โดยท่านกาศยปะมาตังคะ และท่านธรรมรักษ์ เมื่อ พ.ศ. 612 รัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเม่งเต้ แห่งราชวงศ์ฮั่น
18.   โมหมาลาหรือร้อยอุทาหรณ์สูตร ซึ่งพระสิงหเสนเถระคัดมาจากนิทานที่ปรากฏในพระสูตร แล้วยกขึ้นมาตั้งเป็นอุทาหรณ์ (คณะสงฆ์จีนนิกายมหายาน. ม.ป.ป. : 225)
 อมิตาพุทธสูตร และ สมันตภัทรจริยาปณิธานวรรค (阿彌陀經 + 普賢行願品)  

          ในบรรดาพระสูตรเหล่านี้ ปรัชญาปารมิตาสูตรจัดว่าเป็นสูตรดั้งเดิมที่สุด เป็นมูลฐานทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องศูนยตา นอกจากนี้ก็มีอวตังสกสูตร เป็นสูตรสำคัญที่สุดของนิกายมหายาน เพราะเป็นพระสูตรที่เชื่อกันว่า พระพุทธองค์ทรง สั่งสอนเองเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในขณะที่พระองค์เข้าสมาธิ เข้าใจกันว่า ใจความสำคัญขอ'พระสูตรนี้ น่าจะเป็นของ พระโพธิสัตว์มากกว่า ซึ่งเราจะพิจารณาได้จากข้อความในหนังสือพระพุทธศาสนานิกายมหายานของคณะสงฆ์จีนนิกาย (ม.ป.ป. : 228-229)
นอกจากนี้ก็มีพระสูตรที่สำคัญอีกเช่นกันคือ วิมลเกียรตินิทเทศสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่มีปรัชญาเป็นมูลฐาน นิกายเซ็น ( Zen ) จึงชอบและนิยมมากที่สุด และพระสูตรที่สำคัญที่สุดซึ่งนิกายมหายานในจีนและญี่ปุ่นนับถือกันมากคือ สัทธรรมปุณฑริกสูตร คำสั่งสอนในนิกายเท็นได นิจิเร็น ล้วนอาศัยพระสูตรนี้เป็นรากฐานทั้งสิ้น และวัดในนิกายเซ็น ก็ต้องสวดพระสูตรนี้เป็นประจำทุกวัน ทั้งนี้เพราะเชื่อกันว่า พระสูตรนี้เป็นพระสูตรสุดท้ายของพระพุทธองค์จึงมีผู้แปลมาก โดยเฉพาะในภาษาจีนมี 3 ฉบับ แต่ที่ถือกันว่าเป็นฉบับที่ดีที่สุด คือ ของท่านกุมารชีพ
พระสูตรมหายานแบ่งเป็นหมวดได้ดังนี้
หมวดอวตังสกะ

หมวดนี้มีพระสูตรใหม่สูตรหนึ่งเป็นหัวใจคือ พุทธาวตังสกมหาไวปุลยสูตร 80 ผูก และมีสูตรปกิณณะย่อยๆ อีกหลายสูตร
หมวดไวปุลยะ

มีพระสูตรใหญ่ชื่อมหารัตนกูฏสูตร 120 ผูก เป็นหัวใจ มหาสังคีติสูตร 10 ผูก, มหายานโพธิสัตว์ปิฎกสูตร 20 ผูก, ตถาคตอจินไตยรหัศยมหายานสูตร 30 ผูก, สุวรรณประภาสสูตร 10 ผูก, กรุณาปุณฑริกสูตร 11 ผูก, มหายานมหาสังคีติกษิติครรภทศจักรสูตร 10 ผูก, มหาไวปุลยมหาสังคีติโพธิสัตวพุทธานุสสติสมาธิสูตร 10 ผูก,จันทร ประทีปสมาธิสูตร 11 ผูก, ลังกาวตารสูตร 7 ผูก, สันธินิรโมจนสูตร 5 ผูก, วิเศษจินดาพรหมปุจฉาสูตร 4 ผูก, อักโษภยพุทธเกษตรสูตร 2 ผูก, ไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาสปูรวประณิธานสูตร 2 ผูก, ลมโยปมสมาธิสูตร 3 ผูก, ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร 1 ผูก, อมิตายุรธยานสูตร 1 ผูก, มหาสุขาวดีวยูหสูตร 2 ผูก, อจินไตยประภาสโพธิสัตวนิทเทสูตร 1 ผูก, ศูรางคมสมาธิสูตร 3 ผูก, วิมลกีรตินิทเทศสูตร 3 ผูก และอื่นๆ อีกมากสูตรนัก ฯลฯ
อนึ่งคัมภีร์ฝ่ายลัทธิมนตรยานก็จัดสงเคราะห์ลงในหมวดไวปุลยะนี้ มีพระสูตรสำคัญ เช่น มหาไวโรจนสูตร 7 ผูก, เอกอักขระพุทธอุษฯราชาสูตร 6 ผูก, มหามณีวิปุลยะวิมาน วิศวศุภประดิษฐานคุหยปรมรหัสยะกัลปราชธารณีสูตร 3 ผูก, สุสิทธิกรสูตร 3 ผูก, วัชร เสขรสูตร 7 ผูก, โยคมหาตันตระราชาสูตร 5 ผูก, มหามรีจิโพธิสัตวสูตร 7 ผูก, วัชรเสข ระประโยคโหมตันตระ 1 ผูก, มหาสุวรรณมยุรีราชาธารณีสูตร 2 ผูก ฯลฯ
หมวดปรัชญา

มีพระสูตรใหญ่ ชื่อมหาปรัชญาปารมิตาสูตร 600 ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น ราชไมตรีโลกปาลปารมิตาสูตร 2 ผูก วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร 1 ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ
หมวดสัทธรรมปุณฑริก

มีพระสูตรใหญ่ ชื่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร 8 ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น อนิวรรตธรรมจักรสูตร 4 ผูก, วัชรสมาธิสูตร 2 ผูก, มหาธรรมเภรีสูตร 2 ผูก, สมันตภัทรโพธิสัตวจริยธรรมธยานสูตร 1 ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ
หมวดปรินิรวาณ

มีพระสูตรใหญ่ ชื่อมหาปรินิรวาณสูตร 40 ผูก เป็นหัวใจ มีสูตรปกิณณะ เช่น มหากรุณาสูตร 5 ผูก, มหามายาสูตร 2 ผูก, มหาเมฆสูตร 4 ผูก, อันตรภาวสูตร 2 ผูก เป็น อาทิ ฯลฯ
มหากรุณาธารณีสูตร (千手千眼觀音大悲心陀羅尼經) 
 อรรถกถาสุตตันตปิฎกมหายาน

มี 33 ปกรณ์ เช่น มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ 100 ผูก แก้คัมภีร์มหาปรัชญาปารมีตาสูตร, ทศภูมิวิภาษาศาสตร์ 15 ผูก, สัทธรรมปุณฑริกสูตรอุปเทศ 2 ผูกเป็นอาทิ อรรถกถาพระสูตรของคันถรจนาจารย์จีน
มี 38 ปกรณ์ เช่น อรรถกถาพุทธาวตังสกมหาไพบูลยสูตร 60 ผูก และปกรณ์ ประเภทเดียวกันอีก 5 คัมภีร์ นอกนั้นมีอรรถกถาลังกาวตารสูตร 8 ผูก, อรรถกถาวิมล กีรตินิทเทศสูตร 10 ผูก, อรรถกถาสุวรรณประภาสสูตร 6 ผูก, อรรถกถาสัทธรรม ปุณฑริกสูตร 20 ผูก, อรรถกถามหาปรินิรวาณสูตร 33 ผูก เป็นอาทิ
ปกรณ์วิเศษของคันถรจนาจารย์อินเดีย มี 104 ปกรณ์ เช่น โยคาจารภูมิศาสตร์ 100 ผูก, ปกรณารยวาจาศาสตร์การิกา 20 ผูก, มหายานอภิธรรมสังยุกตสังคีคิศาสตร์ 16 ผูก, มหายานสัมปริครหศาสตร์ 3 ผูก, มัธยานตวิภังคศาสตร์ 2 ผูก เหตุวิทยาศาสตร์ 1 ผูก, มหายสนศรัทโธตปาทศาสตร์ 2 ผูก, มาธยมิกศาสตร์ 2 ผูก, ศตศาสตร์ 2 ผูก, มหายานวตารศาสตร์ 2 ผูก, มหายาน โพธิสัตวศึกษาสังคีติศาสตร์ 11 ผูก, มหายานสูตราลังการ 15 ผูก, ชาตกมาลา 10 ผูก, มหาปุรุษศาสตร์ 2 ผูก, สังยุกตอวทาน 2 ผูก ทวาทศทวารศาสตร์ 1 ผูก นอกนั้นก็เป็นปกรณ์สั้นๆ เช่น วิฃญาณมาตราตรีทศศาสตร์, วีศติกวิชญานมาตราศาสตร์, อลัมพนปริกษ ศาสตร์, อุปายหฤทัยศาสตร์, หัตถธารศาตร์, วิชญานประวัตรศาสตร์, วิชญานนิทเทศ ศาสตร์, มหายานปัญจสกันธศาสตร์เป็นอาทิ
พระอภิธรรมปิฎกมหายาน

ส่วนพระอภิธรรมของมหายาน กำเนิดขึ้นเมื่อล่วงได้ 500 ปี นับแต่พุทธปรินิพพาน ในครั้งแรกไม่จัดเข้าเป็นปิฎก แต่พึ่งมาจัดเข้าในภายหลัง เรียกว่า ศาสตร์ เป็นนิพนธ์ของคณาจารย์อินเดีย เช่น นาคารชุน เทวะ อสังคะวสุพันธุ สถิรมติ ธรรมปาละ ภาวิเวก และทินนาค เป็นต้น ศาสตร์ของพวกมหายานส่วนใหญ่เป็นของฝ่ายวิชญาณวาทิน และศูนยตวาทิน ศาสตร์ที่ใหญ่และยาวที่สุด คือ โยคาจารภูมิศาสตร์


มหายาน
                 มหายาน (สันสกฤต : महायान, จีน: 大乘; ญี่ปุ่น: 大乗; เวียดนาม: Đại Thừa; เกาหลี :대승) มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี-สันสกฤต มหา + ยาน แปลว่า พาหนะที่ใหญ่เป็นคำเรียกที่อาศัยการเปรียบเทียบ จากคำว่า หีนยาน ซึ่งแปลว่า พาหนะที่เล็ก ๆ มหายานยังมีความหมายว่า ยานที่สูงสุดตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน คำว่ามหายาน ไม่เพียงแต่เป็นยานใหญ่และสูงสุดเท่านั้น หากเป็นยานที่รื้อขนสรรพสัตว์ได้ทุกประเภททุกวัย รวมทั้งสัตว์โลกทุกรูปนาม เพื่อไปสู่พระนิพพาน และยานนี้ยังหมายถึงยานที่จะไปถึงพุทธภูมิ แล้วสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                 คำว่า มหายาน จึงเป็นการเปรียบเทียบหมายถึงการขนสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากกว่าสาวกยาน ในคัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ คุรุนาคารชุน ปราชญ์ฝ่ายมหายาน ได้อธิบายความหมายของมหายานไว้ว่า “พระพุทธธรรมมีเอกรสเดียว คือ รสแห่งวิมุตติ ความรอดพ้นจากปวงทุกข์ แต่ชนิดของรสมี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเพื่อตัวเอง ชนิดที่สองเพื่อตัวเองและสรรพสัตว์ด้วย” อันหมายความว่า ฝ่ายสาวกยานมุ่งเพียงความหลุดพ้นเป็นอรหันต์สิ้นกิเลสเฉพาะตน ไม่มีปณิธานในการโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นด้วย แต่ฝ่ายมหายานย่อมมีอุคมคติตรงกันข้าม กล่าวคือ ย่อมมุ่งพุทธภูมิมีปณิธานจะตรัสรู้เป็นพระพุทธะเพื่อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์จนหมดสิ้น อธิบายว่า พุทธศาสนิกชนฝ่ายสาวกยานโดยทั่วไปมุ่งแต่อรหัตภูมิเป็นสำคัญ ฉะนั้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สาวกยาน ส่วนพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานย่อมมุ่งพุทธภูมิทั้งนั้น จึงมีอีกชื่อว่า โพธิสัตวยานหรือ พุทธยาน
                ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ได้อธิบายความหมายของมหายานว่า ถ้าสรรพสัตว์ได้สดับธรรมจากพระผู้มีพระภาค แล้วบังเกิดศรัทธาความเชื่อ ปสาทะความเลื่อมใส ได้วิริยะบำเพ็ญบารมีเพื่อสัพพัญญุตญาณอันเป็นธรรมชาติ ญาณอันปราศจากครูอาจารย์ ญาณแห่งพระตถาคต กำลังความกล้าหาญ มีความกรุณาปรารถนาต่อความสุขของสรรพสัตว์ บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์ต่อทวยเทพและมนุษย์ โปรดสรรพนิกรให้พ้นทุกข์ นั่นชื่อว่า มหายาน
                นอกจากนี้ พระนาคารชุนได้กล่าวไว้ในทวาทศนิกายศาสตร์อีกว่า มหายานคือยานอันประเสริฐกว่ายานทั้ง 2 เหตุนั้น จึงชื่อว่า 'มหายาน' พระพุทธเจ้าทั้งหลายอันใหญ่ยิ่ง ทรงอาศัยซึ่งยานนี้ และยานนี้จะสามารถนำเราเข้าถึงพระองค์ได้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' อนึ่ง ปวงพระพุทธเจ้าผู้มหาบุรุษได้อาศัยยานนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า 'มหา' และอีกทั้งสามารถดับทุกข์อันไพศาลของสรรพสัตว์และประกอบประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้ถึงพร้อม เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' อนึ่ง พระโพธิสัตว์ทั้งปวง มีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ พระเมตไตรยโพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ เป็นต้น ปวงมหาบุรุษได้ทรงอาศัย เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' อนึ่ง เมื่ออาศัยยานนี้แล้ว ก็ย่อมเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวง เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา'”
               นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีข้อความที่ยกย่องมหายานอีกเป็นจำนวนมากในคัมภีร์ของมหายาน เช่นเรียกว่า อนุตรยาน (ยานอันสูงสุด) โพธิสัตวยาน (ยานของพระโพธิสัตว์) พุทธยาน (ยานของพระพุทธเจ้า) เอกยาน (ยานอันเอก) เป็นต้น เพราะฉะนั้นคำว่า ยาน ในพระพุทธศาสนาจึงเป็นดั่งคำเปรียบเปรยของมรรควิถีอันจะนำไปสู่ความหลุดพ้นในรูปแบบที่แตกต่างกันนั่นเอง
              กล่าวโดยสรุป ยานในพระพุทธศาสนาได้แบ่งออกเป็น 3 (ตามมติฝ่ายมหายาน) คือ  
  1. สาวกยาน คือ ยานของพระสาวก ที่มุ่งเพียงอรหัตภูมิ รู้แจ้งในอริยสัจ 4 ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า
  2. ปัจเจกยาน คือ ยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้
  3. โพธิสัตวยาน คือ ยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีน้ำใจกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า 2 ยานแรก และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาธรรม
credit by http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99